วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


1. การจัดระเบียบการเมืองการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยนี้ระบบการการปกครองประเทศยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 คือแบ่งการปกครองเป็นเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

- สมัยรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้

ก. การปฏิรูปการปกครอง
1. ส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ และให้แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น 12 กรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวง) ดังนี้ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมการต่างประเทศ กรมนครบาล กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเกษตรและพาณิยการ (เกษตราธิการ) กรมยุติธรรม กรมยุทธนาะการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และ กรมมุรธาธิการ (ต่อมาภายหลังได้ยุบกรมยุทธนาธิการไปรวมกับกรมกลาโหมและยุบกรมมุรธาธิการไปรวมกับกรมวัง ดังนั้นตอนปลายรัชกาลที่ 5 จึงมีเพียง 10 กรม (หรือกระทรวงในภายหลัง)

2. ส่วนภูมิภาค ให้ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมือง โดแบ่งท้องที่ต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่ คือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง (จังหวัด) และมณฑล (รวม 4-6 เมืองเป็นหนึ่งมณฑล) และแต่งตั้งข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทศาภิบาล นับเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือราชธานี ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองคือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งการปกครองไทย)

สาเหตุที่ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะขณะนั้นมหาอำนาจทางตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจึงต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของชาติตะวันตก

ข. ตั้งสภาที่ปรึกษา
รัชกาลที่ 5 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมา 2 สภาคือ
1. ปรีวี เคาน์ซิล (องคมนตรีสภา) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการส่วน พระองค์
2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป

ค. การเคลื่อนไหวเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย
การเสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ร.ศ.103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกลุ่มบุคคลประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้เห็นรูปแบบการปกครองของชาวยุโรปเป็นแบบประชาธิปไตย จึงพร้อมใจกันเสนอคำกราบบังคมทูลดังกล่าว แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าเมืองไทยขณะนั้นยังไม่พร้อมควรค่อนเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่ประชาชนก่อน



- สมัยรัชกาลที่ 6
1. เกิดกบฏ ร.ศ.130 ด้วยมีคณะบุคคลคิดจะทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยทหารปก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งจะเรียกร้องให้รัชกาลที่ 6 อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยขึ้น แต่ไม่สำเร็จและไม่ทันดำเนินการก็ถูกจับเสียก่อน
2. รัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โปรดให้ตั้งดุสิตธานี (หมายถึง นครจำลองที่สมมติขึ้นมา) ทดลองจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยเริ่มครั้งแรก พ.ศ.2461 ในเขตพระราชวังดุสิต ในนครสมมติได้แบ่งเป็นเขตอำเภอต่างๆ มีสถานที่ทำการของรัฐบาล มีสถาบันสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ มีร้านค้าบ้านเรือนราษฎร ประชาชนที่อยู่ในนครสมมติจะมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎร ทำนองเดียวกับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีหนังสือพิมพ์ คอยติชมวิพากวิจารณ์ สมัยนั้นมีอยู่ 3 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับคือ ดุสิตสมัยและดุสิตรีคอร์เดอร์ และรายสัปดาห์ 1 ฉบับชื่อ ดุสิตสมิต
3. ให้รวมมณฑลหลายๆ มณฑลเป็นภาคและให้เรียกจังหวัดแทนคำว่าเมือง




สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
ทรงตระหนักถึงความปราถนาของคนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทางตะวันตกที่จะให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย และพระองค์เคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันควร เพราะราษฎรยังไม่เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดีพอ อาจเกิดความเสียหายภายหลังได้ ขณะที่ยังรีรออยู่นั้นก็มีคณะบุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จงตอบคำถามต่อไปนี้




การเศรษฐกิจ
- สมัยรัชกาลที่ 4
1. อังกฤษขอให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ใหม่ ไทยจะไม่ยอมอังกฤษทำท่าว่าจะบังคับ
2. ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ.2398 มีสาระสำคัญทางด้านเศรษฐกิจดังนี้
2.1 พ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในประเทศไทยได้โดยเสรีไม่ต้องผ่านคนกลาง
2.2 ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าขาออกใช้อัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดต่อท้ายสัญญา
2.3 ไทยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ
สนธิสัญญาเบาริ่งไม่ได้กำหนดเวลาเลิกใช้หรือเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ

3. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการผูกขาดโดยพระคลังสินค้ามาเป็นแบบการค้าเสรี การค้าขายขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น
4. ระบบการผลิตเริ่มมีการปรับปรุง จากการผลิตแบบยังชีพเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก
5. มีการขุดคลองเพื่อการสัญจรและการค้า เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลองดำเนินสะดวก คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา



สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ.2416 เป็นสำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์และรายได้ต่างๆ ของแผ่นดิน
2. พ.ศ.2435 ให้ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
3. พ.ศ.2439 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้การยอมรับว่าเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมและเป็นระเบียบเรียบร้อย
4. นำเงินส่วนพระองค์(ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)ที่เรียกกันว่าพระคลังข้างที่ออกจากพระคลังมหาสมบัติ และให้พระคลังข้างที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกับรายได้แผ่นดิน
5. ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร แต่งตั้งข้าหลวงไปประจำทุกมณฑล
6. ปรับปรุงการเงิน เดิมใช้เงินพดด้วงมาเป็นใช้ธนบัตรแทน ใช้เงินเหรียญและสตางค์แทนเงินปลีก (ใช้ระบบทศนิยมแบบมาตราเมตริก คือ 100 สตางค์ เป็น 1 สลึง..)
7. ตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกชื่อบุคคลัภย์ ต่อมาเรียกชื่อว่าแบงค์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8. ส่งเสริมอาชีพราษฎร ตั้งกรมชลประทานดูแลและจัดหาน้ำ ตั้งกรมโลหะกิจ ดูแลเหมืองแร่ ตั้งกรมป่าไม้ดูแลป่าไม้ ด้านการสื่อสารตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข สร้างทางรถไฟ


- สมัยรัชกาลที่ 6

1.ตั้งธนาคารออมสิน
2.ตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
3.ตั้งกรมสรรพากรและกรมตรวจเงินแผ่นดิน
ในตอนปลายรัชกาลฐานะการคลังของประเทศทรุดลงเนื่องจากสาเหตุการเกิดอุทกภัยและเศรษฐกิจกระทบกระเทือนด้วยวิกฤตการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1


- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
1.ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1
2.รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้นโยบายประหยัดดังนี้
2.1 ตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยทั้งส่วนของราชการและราชสำนัก
2.2 ยุบรวมกระทรวง ทบวง กรม
2.3 ปลดข้าราชการเป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าใช้จ่าย


2. การสังคมและวัฒนธรรม
- สมัยรัชกาลที่ 4
1. ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีมหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา
2. ทรงตระหนักถึงสถานการณ์ของประเทศไทยว่ากำลังถูกคุกคามจากชาติตะวันตก จึงดำริว่าไทยควรปรับปรุงขนบธรรมเนียมให้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติได้แก่
ก. โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า
ข. โปรดให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าในงานพระราชพิธีด้วย
ค. ให้ยกเลิกประเพณีห้ามราษฎรเข้าเฝ้าเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ทรงอนุญาตให้ราษฎรรับเสด็จได้โดยสะดวก
ง. ฟื้นฟูประเพณีตีกลองร้องฎีกา (มีกลองวินิจฉัยเภรีแขวนไว้ใครเดือดร้อนต้องการยื่นฎีกาให้มาตีกลอง)
- สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งสถานศึกษาสำหรับสงฆ์คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือมหาธาตุวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัยสำหรับฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
2. ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โปรดให้ทูตานุทูตยืนเฝ้าถวายคำนับ
3. ประเพณีการสืบสันตติวงศ์
4. ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต ทรงตั้งตำแหน่ง สยามมกุฏราชกุมารขึ้นแทน มกุฏราชกุมารพระองค์แรกคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
5. ปรับปรุงประเพณีไว้ผมทรงมหาดไทย โดยให้ชายไทยในพระราชสำนักเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เป็นตัดผมยาวทรงดอกกระทุ่ม
6. ใช้แบบเสื้อราชประแตนและสวมหมวกอย่างยุโรปแต่ยังนุ่งผ้าม่วงอยู่
7. หลังจากกลับจากประพาสยุโรป สตรีไทยได้หันกลับไปนิยมแบบเสื้อของอังกฤษคือคอตั้งแขนยาว
8. ตอนปลายรัชกาลสตรีไทยนิยมนุ่งโจงกระเบน ชายนุ่งกางเกงแบบตะวันตก
- สมัยรัชกาลที่ 6
1. ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง
2. กำหนดคำหน้านามว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย และเด็กหญิง
3. ออกพระราชบัญญัตินามสกุล
4 . ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชทางราชการแทนการใช้รัตนโกสินทร์ศก
5. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างที่มีพื้นธงสีแดงล้วนและมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางมาเป็น ธงไตรรงค์
6. เปลี่ยนการนับเวลาทางราชการโดยใช้เวลามาตรฐานตามเวลากรีนิชเป็นหลัก
- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
ยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น